สารบัญ
กาแฟ (Coffee) เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดกาแฟคั่วซึ่งได้จากต้นกาแฟ นิยมดื่มร้อนๆ แต่สามารถดื่มแบบเย็นได้ด้ว บางครั้งนิยมใส่นมหรือครีมลงในกาแฟด้วย ในกาแฟหนึ่งถ้วยมีคาเฟอีนอยู่ประมาณ 80-140 มิลลิกรัม กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับชาและน้ำ นอกจากนี้ กาแฟยังเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีการส่งออกมากเป็นอันดับที่หกของโลก
Bread at HÖME
ขนมปัง , โดนัท , ขนมเค้ก , ของทางเล่น , พิซซ่าโฮมเมด
ประวัติความเป็นมาของกาแฟในโลก
กาแฟโดยแหล่งกำเนิดแล้วเป็นพืชพื้นเมืองของอาบีซีเนีย (Abyssinia) และอาราเบีย (Arabia) ถูกค้นพบในศตวรรษที่ 6 ราวปี ค.ศ. 575 ในประเทศอาระเบีย (Arabia) และในขณะเดียวกันบางท่านก็กล่าวว่ากาแฟเป็นพืชพื้นเมืองที่พบในเมืองคัพฟา (Kaffa) ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเอธิโอเปีย (Ethiopia) กาแฟจึงได้ชื่อเรียกตามจังหวัดนี้ และยังได้เรียกแตกต่างกันออกไปอีกมาก แหล่งกำเนิดเดิมของกาแฟมาจากประเทศอาบีซีเนีย หรือแถบประเทศอาราเบียน หรือประเทศอาหรับ ตะวันออกกลาง
สมัยนั้นไม่มีผู้ใดให้ความสนใจเท่าใดนักจนกระทั่งล่วงเลยมาถึงศตวรรษที่ 9 มีการเลี้ยงแพะชาวอาราเบียคนหนึ่งชื่อ คาลดี (Kaldi) นำแพะออกไปเลี้ยงตามปกติ แพะได้กินผลไม้สีแดงชนิดหนึ่งเข้าไปแล้วเกิดความคึกคะนองผิดปกติ จึงได้นำเรื่องไปเล่าให้ชาวมุสลิมท่านหนึ่งฟัง จึงได้นำผลของต้นไม้นั้นมากะเทาะเปลือกเอาเมล็ดไปคั่วแล้วต้มในน้ำร้อนดื่มเห็นว่ามีความกระปรี้กระเปร่า จึงนำไปเล่าให้คนอื่นฟังต่อไป ชาวอาราเบียจึงได้เริ่มรู้จักต้นกาแฟมากขึ้น จึงทำให้กาแฟแพร่หลายเพิ่มขึ้นจากประเทศอาราเบีย เข้าสู่ประเทศอิตาลี เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน ฝรั่งเศส
ชาวอาระเบียเรียกพืชนี้ว่า “คะวาฮ์” (Kawah) หรือ “คะเวฮ์” (Kaweh) ซึ่งแปลว่าพลัง (strength) หรือความกระปรี้กระเปร่า (vigor) ชาวตุรกีเรียกว่า “คะเวฮ์” (Kaveh) ต่อมาการเรียกชื่อกาแฟจึงเปลี่ยนแปลงไปตามแหล่งต่างๆของโลก เช่น คัฟฟี (Koffee) ในอังกฤษเรียกว่า “คอฟฟี” (coffee) อันเป็นชื่อที่รู้จักและใช้ในปัจจุบันนี้ เมื่อมาถึงประเทศไทยคนไทยเรียกว่า โกปี๊ ข้าวแฝ่ และกาแฟในที่สุด
อ่านเพิ่มเติมที่นี่ : สปันจ์เค้ก (sponge cake)
เค้กโฮมเมดของ Bread at HÖME นั้น ใช้ เมล็ดวนิลาแท้ ทุกชิ้น
ชนิดของเมล็ดกาแฟ
ต้นกาแฟอาราบิก้า – บราซิลกาแฟมีมากกว่า 6,000 พันธุ์ แต่พันธุ์หลักๆ ที่ได้รับความนิยมมี 2 พันธุ์ ได้แก่ อาราบิก้า (Arabica) ซึ่งเป็นกาแฟแบบดั้งเดิม และมีรสชาติดี และ โรบัสต้า (Robusta) ซึ่งมีปริมาณกาเฟอีนสูง และสามารถปลูกในที่ที่ปลูกอาราบิก้าไม่ได้ (คำว่า robust ในภาษาอังกฤษ แปลว่า ทนทาน) ด้วยความที่มีความทนทานมากกว่านี้เอง จึงทำให้กาแพโรบัสต้ามีราคาถูกกว่า แต่ผู้คนนิยมดื่มไม่มากนักเนื่องจากมีรสขมและเปรี้ยว ส่วนโรบัสต้าที่มีคุณภาพดีมักถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมของเอสเพรสโซ่ แบบผสม (เอสเพรสโซ่มีสองแบบใหญ่ๆ คือแบบที่เป็นอาราบิก้าแท้ๆ กับแบบที่ผสมกาแฟชนิดอื่นๆ)
กาแฟอาราบิก้ามักจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามชื่อท่าเรือที่ใช้ส่งออก ท่าเรือที่เก่าแก่ที่สุดสองที่ได้แก่ ม็อคค่า (Mocha) และ ชวา (Java) กาแฟในปัจจุบันยิ่งมีความเจาะจงในที่ปลูกมากขึ้นเรื่อยๆ ต้องมีการระบุถึงประเทศ ภูมิภาค และบางครั้งต้องบอกว่าปลูกที่พื้นที่บริเวณไหนเลยทีเดียว ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกาแฟอาจจะถึงกับต้องประมูลกาแฟกัน โดยดูว่าเป็นล็อตหมายเลขเท่าใด กาแฟชนิดโรบัสต้าที่มีมูลค่าสูงที่สุดชนิดหนึ่งได้แก่ โกปิ ลูวัค (Kopi Luwak) ของอินโดนีเซีย เมล็ดของกาแฟชนิดนี้ถูกเก็บขึ้นมาจากมูลของชะมด (Common Palm Civet) (ตระกูล Paradoxirus)ซึ่งกระบวนการย่อยภายในร่างกายชะมดทำให้ได้รสชาติที่ดีเป็นพิเศษ เรียกเป็นภาษาไทยว่า กาแฟขี้ชะมด
การผลิตเมล็ดกาแฟ
การบ่ม
ในการผลิตกาแฟ วิธีที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันดีนักวิธีหนึ่งได้แก่การบ่ม (Aging) กาแฟหลายๆ ประเภทจะมีคุณภาพดีขึ้นเมื่อผ่านการบ่ม รสเปรี้ยวของมันจะลดลง ในขณะที่ความกลมกลืนของรสชาติโดยรวมก็จะเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตหลายๆ รายมักจะขายเมล็ดกาแฟออกไปหลังจากได้บ่มเอาไว้แล้วถึง 3 ปี และร้านที่ขึ้นชื่อเป็นพิเศษบางร้าน (เช่น “Toko Aroma” ในเมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย) ถึงกับบ่มเมล็ดที่ยังไม่ได้คั่วไว้ถึง 8 ปีทีเดียว
การคั่ว
กระบวนการคั่วเป็นขั้นตอนที่ขาดไม่ได้ในการที่จะได้กาแฟรสชาติดีสักถ้วยหนึ่ง. เมื่อถูกคั่ว เมล็ดกาแฟสีเขียวก็จะพองออกจนเกือบจะมีขนาดเป็นสองเท่าของของเดิม พร้อมทั้งเปลี่ยนสีและความหนาแน่นไป เมื่อเมล็ดได้รับความร้อน มันจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองและในที่สุดก็จะกลายเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ แบบสีของผลอบเชย (cinnamon) และมันก็จะมีสีเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะถูกยกออกจากความร้อน พร้อมกันนี้ เราก็จะเห็นน้ำมันออกมาตามผิวของเมล็ด ในการคั่วแบบอ่อนๆ กาแฟจะเก็บรสชาติดั้งเดิมไว้ได้ดีกว่า รสชาติดั้งเดิมนี้จะขึ้นอยู่กับดินและสภาพอากาศในที่ที่ต้นกาแฟได้เติบโตขึ้นมา. เมล็ดกาแฟจากพื้นที่ที่มีชื่อเสียง เช่น เกาะชวา และประเทศเคนยา จะถูกคั่วเพียงอ่อนๆ เท่านั้นเพื่อให้ยังคงรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์อยู่ให้มากที่สุด
ยิ่งเมล็ดกาแฟถูกคั่วให้เข้มมากขึ้นเท่าไหร่ รสชาติดั้งเดิมของมันก็จะยิ่งถูกบดบังด้วยรสที่เกิดจากการคั่วมากขึ้นเท่านั้น กาแฟบางประเภทที่ถูกคั่ว จนรสชาติแทบจะไม่ได้บ่งบอกถึงสถานที่ปลูกเลย จะถูกขายโดยใช้ระดับของการคั่วเป็นหลัก โดยเริ่มตั้งแต่ “อบเชยคั่วอ่อนๆ (Light Cinnamon Roast)” ไปจนถึง “การคั่วแบบเวียนนา (Vienna Roast)” และ “การคั่วแบบฝรั่งเศส (French Roast)” และอื่นๆ
ในศตวรรษที่ 19 เมล็ดกาแฟมักจะถูกซื้อขายขณะที่ยังเป็นเมล็ดเขียวๆ อยู่ และก็มักจะนำไปคั่วในกระทะสำหรับทอด การคั่วในลักษณะนี้ต้องใช้ความชำนาญสูงมาก สำหรับการสูญเสียรสชาติของเมล็ดที่ยังไม่ได้คั่วนั้น สามารถป้องกันได้โดยการบรรจุในห่อสูญญากาศ แต่ปัญหาก็คือการที่เมล็ดกาแฟจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นวันๆ หลังจากที่ถูกคั่วเสร็จใหม่ๆ ผู้ผลิตจึงต้องปล่อยให้กาแฟที่คั่วแล้วค้างไว้ก่อนที่จะนำไปบรรจุลงห่อสูญญากาศได้ ด้วยเหตุนี้เทคโนโลยีสองชนิดจึงได้ถูกพัฒนาขึ้นมา บริษัทอิลลี (Illy) ได้ใช้กระป๋องอัดความดัน (pressurized can) ส่วนผู้ผลิตกาแฟคั่วรายอื่นๆ ใช้วิธีการบรรจุเมล็ดทั้งอันลงในถุงทันทีที่คั่วเสร็จโดยใช้วาล์วปล่อยความดัน (pressure release valves)
ในทุกวันนี้การคั่วเองตามบ้านได้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง เครื่องคั่วกาแฟที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ช่วยให้การคั่วกาแฟเองในบ้านง่ายขึ้นมาก และบางครัวเรือนก็ใช้วิธีการคั่วในเตาอบหรือเครื่องทำข้าวโพดคั่ว หลังจากคั่วแล้ว กาแฟจะสูญเสียรสชาติอย่างรวดเร็ว ถึงแม้จะมีบางคนชอบทิ้งกาแฟไว้ 24 ชั่วโมงก่อนจะนำไปชงถ้วยแรก แต่ทุกๆ คนก็เห็นด้วยว่ามันจะเริ่มสูญเสียรสชาติและความขม หลังจากเก็บไว้ประมาณ1สัปดาห์ ถึงแม้จะเก็บอยู่ในที่ที่มีสภาพที่เหมาะสมที่สุดก็ตาม
เมนูแนะนำ : เค้กมินิมอล
การบด
ความละเอียดของกากที่ได้จากการบดมีผลอย่างมากต่อรสชาติ ยิ่งบดกาแฟละเอียดเท่าไร ก็จะยิ่งได้รสชาติที่เข้มข้นและครบบริบูรณ์มากขึ้นเท่านั้น เหตุผลหลักที่บางคนไม่บดละเอียดมากนัก คือเพื่อไม่ให้กากสามารถผ่านตัวกรองชนิดหยาบๆ ออกไปได้ (เช่น cafetiere) การผลิตกากกาแฟพร้อมชงมีสามวิธีด้วยกัน
การโม่ กดเมล็ดโดยใช้อุปกรณ์หมุนสองตัว ใช้การหมุนเพื่อให้เมล็ดแตก วิธีนี้มีความเสี่ยงน้อยที่เมล็ดจะไหม้ เครื่องบดอาจมีลักษณะเป็นแบบล้อหรือแบบกรวย โดยที่แบบกรวยจะทำงานได้เงียบกว่าและมีโอกาสเกิดการอุดตันน้อยกว่า Grinder แบบกรวยช่วยรักษากลิ่นส่วนใหญ่ไว้ได้ และสามารถบดได้ละเอียดมาก อีกทั้งกากที่ได้ก็จะมีความละเอียดสม่ำเสมอกันอีกด้วย โม่ที่ทำจากเหล็กซึ่งมีการออกแบบที่ยุ่งยากซับซ้อน อาจทำให้ลดประสิทธิภาพของเฟืองลง ส่งผลให้การบดทำได้ช้าลง ยิ่งการบดช้าลงเท่าไร ก็ยิ่งมีความร้อนเข้าไปในกากกาแฟน้อยลงเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงสามารถรักษากลิ่นไว้ได้อย่างดี เนื่องจากสามารถปรับความละเอียดได้หลายระดับมา การบดวิธีนี้จึงเหมาะกับกาแฟทุกประเภท ทั้งแบบที่ทำด้วยเครื่องชงเอสเพรสโซ (Espresso) แบบหยด (Drip) แบบใช้เครื่องต้มให้น้ำซึมเข้า (Percolator) และแบบเฟรนช์เพรส (French Press) เครื่องโม่แบบกรวยที่คุณภาพดียังสามารถบดให้ละเอียดเป็นพิเศษสำหรับใช้ในการทำกาแฟแบบตุรกี ความเร็วในการบดโดยทั่วไปไม่เกิน 500 รอบต่อนาที เครื่องโม่ประเภทจานหมุน สามารถบดได้รวดเร็วกว่าแบบกรวย (10,000 ถึง 20,000 รอบต่อนาที) และจะส่งผลให้มีความร้อนเข้าไปในกาแฟเล็กน้อย เครื่องแบบนี้เป็นวิธีที่ประหยัดที่สุดในการผลิตกากละเอียดสม่ำเสมอ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายแบบ กากแบบนี้เหมาะสมมากกับเครื่องชงเอสเพรสโซ่แบบปัมป์ตามบ้าน อย่างไรก็ตามมันไม่สามารถบดให้ละเอียดได้เท่ากับเครื่องแบบกรวย
การสับ “เครื่องบด” สมัยใหม่มักใช้วิธีการหั่นเมล็ดกาแฟออกเป็นชิ้นๆ ถึงแม้จะให้ผลเหมือนกับการบดดีๆ โดยทั่วไป คนที่พิถีพิถันมักตำหนิว่าวิธีนี้ให้กาแฟคุณภาพสู้วิธีแบบเก่าไม่ได้ เครื่องบดแบบใบมีด “ปั่น” เมล็ดให้ละเอียดโดยใช้ใบมีดหมุนด้วยความเร็วสูง (20,000 ถึง 30,000 รอบต่อนาที) กากกาแฟที่ได้จะไม่ละเอียดสม่ำเสมอ และจะได้รับความร้อนมากกว่าการใช้เครื่องโม่ เครื่องบดใบมีดจะก่อให้เกิด “ฝุ่นกาแฟ” ซึ่งอาจทำให้ตะแกรงร่อนของเครื่องชงเอสเพรสโซและเครื่องชงเฟรนช์เพรสเกิดการอุดตันได้ ดังนั้นเครื่องบดแบบนี้ จึงเหมาะสมกับเฉพาะเครื่องชงแบบหยด และมันยังสามารถใช้บดเครื่องเทศและสมุนไพรได้เป็นอย่างดี เครื่องชนิดนี้ไม่ควรใช้กับเครื่องชงเอสเพรสโซแบบปัมป์
การบดเป็นผง กาแฟตุรกีหรือ(เตอร์กิส คอฟฟี่)เป็นการต้มทั้งกากที่ได้จากการบด โดยวิธีการดื่มจะเทดื่มเลยและต่อมาจึงเริ่มมีการกรองดื่มเฉพาะน้ำ วิธีการนี้ให้กากซึ่งละเอียดเกินไปและเหมาะสำหรับการชงแบบนี้เท่านั้น
เมนูแนะนำ : เค้กกาแฟ คาราเมลแมคคาเดเมียคอฟฟี่เค้ก
การชง
การชงกาแฟมีหลากหลายวิธี ซึ่งสามารถแบ่งเป็นประเภทตามการให้น้ำกับกากกาแฟ ได้สี่ประเภทหลักๆ ดังนี้
การต้มเดือด กาแฟตุรกี วิธีการดั้งเดิมในการชงกาแฟ ซึ่งยังคงใช้อยู่ในตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ ตุรกี และกรีซ ได้แก่การต้มผงกาแฟละเอียดเข้ากับน้ำในหม้อคอคอด ซึ่งเรียกว่าไอบริก (ibrik) ในภาษาอารบิก, เซสฟ์ (cezve) ในภาษาตุรกี, และเซสวา (dzezva) ในภาษาเซอร์โบ-โครเอเชียน และปล่อยให้เดือดเล็กน้อย บางครั้งก็จะเติมน้ำตาลเข้าไปในหม้อด้วยเพื่อเพิ่มรสหวาน และยังเพิ่มรสและกลิ่นด้วยกระวาน (cardamom) ผลที่ได้คือกาแฟเข้มข้นถ้วยเล็กๆ มีฟองอยู่ข้างบน และกากกาแฟกองหนาเหมือนโคลนอยู่ที่ก้น
การใช้ความดัน เอสเพรสโซ ถูกชงด้วยน้ำเดือดอ้ดความดัน และมักเป็นพื้นฐานนำไปผสมกาแฟหลายๆ ชนิด หรือไม่ก็เสิร์ฟเปล่าๆ ก็ได้ (มักจะเป็นหลังจากมื้อค่ำ) กาแฟชนิดนี้เป็นหนึ่งในประเภทที่แรงที่สุดที่ดื่มกันโดยทั่วไป และมีรสชาติและความมัน(crema)ที่เป็นเอกลักษณ์ เครื่องชงกาแฟแบบใช้น้ำร้อนซึม (หรือหม้อม็อคค่า) มีลักษณะแบ่งออกเป็นสามส่วน โดยส่วนล่างใช้สำหรับต้มน้ำ เพื่อให้ไอลอยขึ้นไปยังกากกาแฟซึ่งอยู่ในส่วนตรงกลาง น้ำกาแฟที่ได้ ซึ่งมักมีความเข้มข้นระดับเดียวกับเอสเพรสโซ จะถูกเก็บอยู่ในส่วนบนสุด ส่วนที่มักวางติดกับเครื่องอุ่นหรือเตา เครื่องบางแบบยังอาจมีฝา 5 แก้วหรือพลาสติกใสเพื่อเอาไว้ดูกาแฟตอนที่มันลอยขึ้นข้างบน
การใช้แรงโน้มถ่วง การชงแบบหยด (หรือแบบกรอง) เป็นการหยดน้ำร้อนผ่านกากกาแฟที่วางอยู่ในที่กรอง (อาจเป็นกระดาษหรือโลหะเจาะรู) ความเข้มขึ้นอยู่กับสัดส่วนระหว่างน้ำกับกาแฟ แต่โดยปกติแล้วจะไม่เข้มข้นเท่าเอสเพรสโซ เครื่องชงกาแฟแบบใช้น้ำร้อนซึมประเภทที่สอง ก็เป็นแบบที่ใช้แรงโน้มถ่วงดึงให้น้ำไหลผ่านกากกาแฟ แต่ให้ความเข้มมากกว่า
การจุ่ม เฟรนช์เพรส (หรือ cafetiere) เป็นกระบอกแก้วที่สูงและแคบ ประกอบด้วยลูกสูบที่มีตัวกรอง กาแฟและน้ำร้อนจะถูกผสมกันในกระบอก (ประมาณ2-3นาที) ก่อนที่ตัวลูกสูบ ซึ่งอยู่ในรูปฟอยล์โลหะ จะถูกกดลง เพื่อให้เหลือแต่น้ำกาแฟอยู่ข้างบนพร้อมเสิร์ฟ ถุงกาแฟ (ลักษณะเดียวกับถุงชา) เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมน้อยกว่าการใช้ถุงชงชามาก เนื่องจากมันมีขนาดใหญ่กว่ามาก (ปริมาณกาแฟที่ต้องใส่เข้าไปในถุงมากกว่าปริมาณชามาก) กาแฟทุกแบบที่ได้กล่าวมานี้ต่างใช้กากกาแฟชงกับน้ำร้อน กาแฟอาจถูกปล่อยค้างอยู่หรือไม่ก็ถูกกรองออกไป แต่ละวิธีต่างต้องการความละเอียดของการบดแตกต่างกันไป เครื่องทำกาแฟแบบไฟฟ้าสามารถต้มน้ำและชงผงที่ละลายได้ โดยไม่ต้องพึ่งคนมากนัก และบางประเภทก็มีตัวตั้งเวลาด้วย พวกที่ดื่มกาแฟอย่างจริงจังมักจะรังเกียจวิธีการที่สะดวกสบายแบบนี้ ซึ่งมักจะทำให้สูญเสียรสชาติและกลิ่นที่ดีไป คนกลุ่มนี้มักจะโปรดปรานกาแฟที่เพิ่งบดใหม่ๆ และวิธีการชงแบบดั้งเดิมมากกว่า
เมนูแนะนำ : เค้กกาแฟมินิ คาราเมลแมคคาเดเมียคอฟฟี่เค้ก
ประโยชน์และโทษของกาแฟ
กาแฟมีประโยชน์มากก็จริง แต่ต้องกินให้ถูกวิธีด้วย เพราะอาจมีโทษต่อร่างกายได้เช่นกัน
เป็นที่ทราบกันดีกว่ากาแฟเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมที่มาพร้อมกับรสชาติขมแต่กลมกล่อมและอร่อยนุ่มนวลในแบบที่หาไม่ได้ในรสชาติของเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ อีกทั้งยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย และราคาเข้าถึงได้ชนิดที่สามารถดื่มได้ทุกวันแบบสบายๆ
นอกจากรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์แล้ว ประโยชน์ของกาแฟ ที่โดดเด่นและหาไม่ได้ง่ายๆ ในเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ ด้วยเช่นกัน แต่ก็มาพร้อมกับอันตรายแฝงหากดื่มอย่างไม่ระมัดระวังด้วย
9 ประโยชน์ของกาแฟ
- เพิ่มระดับพลังงาน คาเฟอีนในกาแฟเข้าไปเปลี่ยนระดับสารสื่อประสาทบางชนิดในสมอง จึงช่วยกระตุ้นพลังงาน และลดความเหนื่อยล้าได้เป็นอย่างดี จึงไม่น่าแปลกใจหากใครจะถามหากาแฟทุกเช้าหลังตื่นนอนในเช้าที่ยังง่วงๆ เพลียๆ
- อาจช่วยลดความเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ การดื่มกาแฟเป็นประจำ อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ในระยะยาว อาจเป็นเพราะกาแฟช่วยรักษาการทำงานของเซลล์เบตาในตับอ่อน ซึ่งมีหน้าที่ในการผลิตอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดนั่นเอง
- บำรุงสมอง จากงานวิจัยบางชิ้นพบว่า การดื่มกาแฟช่วยป้องกันการเกิดของโรคอัลไซเมอร์ได้ รวมถึงโรคพาร์กินสัน และป้องกันความสามารถในการเรียนรู้และเข้าใจลดลงด้วย
- อาจช่วยควบคุมน้ำหนักได้ กาแฟอาจช่วยให้ร่างกายควบคุมน้ำหนักได้ และอาจช่วยลดไขมันในร่างกายได้อีกด้วย รายงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่า คนที่ดื่มกาแฟมักเป็นคนที่ชอบทำกิจกรรมต่างๆ ทำให้ร่างกายได้ขยับเขยื้อนบ่อยๆ และนั่นอาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กาแฟช่วยควบคุมน้ำหนักได้ทางอ้อมอีกด้วย
- อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้า รายงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า การดื่มกาแฟอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้าได้ และยังอาจช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายได้อีกด้วย
- อาจช่วยปกป้องสภาพของตับได้ การดื่มกาแฟอาจช่วยลดการเสียชีวิตจากโรคตับเรื้อรัง รวมไปถึงโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับตับได้ เช่น ตับอักเสบ และมะเร็งตับ เป็นต้น
- บำรุงหัวใจ รายงานวิจัยบางชิ้นพบว่า การดื่มกาแฟช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และหัวใจวายได้
- ช่วยให้อายุยืน กาแฟอาจเกี่ยวข้องกับลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากหลายๆ สาเหตุ เช่น อายุ น้ำหนัก หรือการดื่มแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตาม ยังต้องการข้อมูลจากรายงานวิจัยเพิ่มเติมสำหรับประโยชน์จากกาแฟในข้อนี้
- อาจเพิ่มความสามารถด้านกีฬา อาจฟังดูแปลกไปสักหน่อย แต่กาแฟสามารถเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมทางร่างกายได้ และสามารถทำให้ร่างกายทานทนต่อการออกกำลังกายได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ยังต้องการข้อมูลจากรายงานวิจัยอย่างละเอียดเพิ่มเติมอีกเช่นกัน
ดื่มกาแฟอย่างไรถึงจะดีต่อสุขภาพ
- ดื่มกาแฟในช่วงเวลาที่เหมาะสม หากอยากได้รับประโยชน์จากคาเฟอีนในการช่วยให้ร่างกายตื่นตัวมากที่สุด ควรดื่มในช่วง 30-11.30 น. จะดีที่สุด
- ไม่ควรดื่มกาแฟมากเกินไป ซึ่งปริมาณที่เหมาะสมของร่างกายแต่ละคนไม่เหมือนกัน อาจต้องลองดื่มดูว่าปริมาณเท่าใดที่ร่างกายรับได้และไม่ทำให้ใจสั่น ตื่นเต้น นอนไม่หลับ หรือเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ แต่โดยทั่วไปกำหนดไว้ให้คร่าวๆ ที่ไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน
- ไม่ควรดื่มกาแฟตอนท้องว่าง เพราะอาจเร่งให้กระเพาะอาหารผลิตกรดออกมามากเกินไป หรืออาจดื่มกาแฟและกินอาหารเล็กๆ น้อยๆ ร่วมด้วย
- ไม่ควรดื่มกาแฟหลัง 14.00-16.00 น. เพราะปริมาณคาเฟอีนที่ยังเหลืออยู่อาจทำให้นอนไม่หลับได้
- เลือกดื่มกาแฟไม่ใส่น้ำตาล ครีมเทียม และอื่นๆ หรือถ้าอยากใส่ ควรใส่ปริมาณน้อยๆ
- ดื่มกาแฟก่อนออกกำลังกาย อาจช่วยให้ร่างกายตื่นตัว และได้ออกแรงเผาผลาญพลังงานในร่างกายได้มากขึ้น
- ไม่ควรดื่มกาแฟหากอยู่ในช่วงที่มีอาการท้องเสีย ท้องร่วง หรือลำไส้แปรปรวน
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนดื่มกาแฟ เพื่อให้ทราบถึงปริมาณที่ควรดื่มอย่างเหมาะสม
อ่านเพิ่มเติมที่นี่ : ชิฟฟอนเค้ก (chiffon cake)
ผลข้างเคียงหรือโทษจากการดื่มกาแฟ
ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีสามารถดื่มกาแฟได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ ทั้งนี้การดื่มกาแฟก็เช่นเดียวกับอาหารหรือสมุนไพรอื่น ๆ ที่อาจมีผลข้างเคียงหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้เมื่อรับประทานเกินพอดี โดยเฉพาะเมื่อใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์บางประการหรือดื่มร่วมกับยาบางชนิด ผู้ใช้จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัยและพึงระมัดระวังดังนี้
- กาแฟประกอบด้วยสารคาเฟอีนที่สามารถก่อให้เกิดอาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย กระวนกระวาย อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ และผลข้างเคียงอื่น ๆ
- การดื่มกาแฟในปริมาณมากอาจทำให้ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย วิตกกังวล ได้ยินเสียงดังในหู หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
- การได้รับกาแฟวันละ 6 แก้วอาจทำให้เกิดการเสพติดกาแฟ ซึ่งอาจส่งผลให้มีอาการวิตกกังวลหรือกระสับกระส่าย
- การดื่มกาแฟจนติดเป็นเป็นนิสัยอาจส่งผลให้ขาดกาแฟไม่ได้ และอาจมีอาการที่เกิดจากการขาดคาเฟอีนหากเลิกดื่มกาแฟอย่างฉับพลัน
- กาแฟที่ชงแบบไม่กรองอาจมีปริมาณคอเลสเตอรอล ไขมันชนิดไม่ดี และระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์โดยรวมมากกว่ากาแฟชนิดอื่น ซึ่งจะยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ทางที่ดีจึงควรดื่มกาแฟชงแบบกรองเพื่อลดคอเลสเตอรอลเหล่านี้
- มีข้อกังวลว่าการดื่มกาแฟมากกว่า 5 แก้วต่อวันอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้ป่วยด้วยโรคหัวใจนั้น การดื่มกาแฟหลาย ๆ แก้วต่อวันไม่ได้เป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจแต่อย่างใด
- เป็นที่กังวลเช่นกันว่าการดื่มกาแฟเป็นครั้งคราวอาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้ในบางคน นอกจากนี้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจสูงและดื่มกาแฟทุกวันแต่ไม่เกินวันละ 1 แก้วยังอาจมีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะกล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันสูงขึ้นเช่นกัน โดยจะเกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากการดื่มกาแฟ ในขณะที่ผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำในปริมาณที่มากกว่านั้นดูเหมือนจะไม่มีความเสี่ยงต่อภาวะนี้
- การใช้กาแฟสวนทางทวารอาจไม่ปลอดภัย เพราะสามารถเกิดผลข้างเคียงร้ายแรงตามมาจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
เมนูแนะนำ : เค้กแบล็คฟอเรส
บุคคลที่ควรระมัดระวังในการดื่มกาแฟ
- หญิงที่ตั้งครรภ์ควรได้รับคาเฟอีนไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบเท่ากับกาแฟสำเร็จรูปไม่เกิน 2 แก้ว หรือเท่ากับกาแฟชงสด 1 แก้ว หากได้รับกาแฟมากกว่านี้อาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการแท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด และทารกมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยได้ โดยยิ่งได้รับกาแฟมากเท่าใดก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้น
- การดื่มกาแฟวันละ 1-2 แก้วดูเหมือนจะไม่เป็นอันตรายสำหรับแม่ที่ต้องให้นมบุตรและทารก แต่การดื่มกาแฟในปริมาณมากอาจส่งผลต่อระบบย่อยอาหารของทารก อีกทั้งทำให้เด็กนอนไม่หลับและเกิดอาการหงุดหงิดฉุนเฉียวได้
- การให้เด็กดื่มกาแฟอาจไม่ปลอดภัย เพราะอาจมีผลข้างเคียงจากการดื่มที่รุนแรงมากกว่าในผู้ใหญ่
- ผู้ป่วยโรควิตกกังวลอาจมีอาการวิตกกังวลที่แย่ลงได้จากการดื่มกาแฟ
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการมีเลือดออกผิดปกติ การดื่มกาแฟอาจยิ่งทำให้อาการแย่ลงได้
- การดื่มกาแฟต้มจะยิ่งทำให้ได้รับคอเลสเตอรอลและไขมันชนิดอื่น ๆ ในเลือดสูงขึ้น รวมถึงระดับโฮโมซีสเตอีน (Homocysteine) ในร่างกายที่อาจจะสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจ และยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่าการดื่มกาแฟนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
- บางงานวิจัยแนะนำว่าสารคาเฟอีนที่มีอยู่ในกาแฟอาจส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยมีรายงานว่ากาแฟอาจไปเพิ่มหรือลดระดับน้ำตาลในเลือดก็ได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรใช้กาแฟอย่างระมัดระวังและหมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
- การดื่มกาแฟอาจส่งผลให้ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอยู่แล้วมีระดับความดันโลหิตสูงยิ่งขึ้น ทั้งนี้ผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำอยู่แล้วอาจได้รับผลกระทบนี้น้อยกว่า
- ผู้ป่วยโรคต้อหินไม่ควรดื่มกาแฟที่มีคาเฟอีน เพราะอาจทำให้ความดันภายในดวงตาสูงขึ้น โดยจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ภายใน 30 นาทีแรกและคงอยู่อย่างน้อย 90 นาที
- การดื่มกาแฟที่มีคาเฟอีนอาจทำให้แคลเซียมถูกขับออกทางปัสสาวะมากขึ้นจนกระดูกอ่อนแอลง ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนจึงควรจำกัดปริมาณการดื่มกาแฟในแต่ละวันไม่ให้เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน หรือประมาณ 2-3 แก้ว และอาจรับประทานแคลเซียมเสริมเพื่อทดแทนแคลเซียมที่สูญเสียไป
- ผู้ที่มีอาการท้องเสียหรือมีโรคลำไส้แปรปรวนอยู่แล้วไม่ควรรับประทานกาแฟ เพราะสารคาเฟอีนในกาแฟอาจทำให้อาการท้องเสียหรืออาการของโรคแย่ลงกว่าเดิม โดยเฉพาะเมื่อได้รับในปริมาณมาก
- หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีโรคความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของวิตามินดีได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ควรระมัดระวังในการดื่มกาแฟเป็นพิเศษ
ข้อดี และข้อเสียจากการดื่มกาแฟ
ข้อดีในการดื่มกาแฟ
1. ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นเบาหวาน 60%
เนื่องจากกาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระและยังมีสารประกอบที่เรียกว่าควินิน (Quinines) ทีช่วยให้ร่างกายสามารถผลิตอินซูลินได้ดีขึ้น
2. ช่วยลดอัตราการเกิดภาวะความจำเสื่อม 65%
จากการวิจัยพบว่ากาแฟมีส่วนช่วยในการชะลอภาวะความจำเสื่อมโดยไปหยุดยั้งหรือต้านการจับตัวของคอเรสเตอรอล (Cholesterol) ที่เป็นผลเสียต่อร่างกาย
3. ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ 50%
จากการศึกษาถึง 12 ปีกับผู้หญิงในญี่ปุ่นพบว่าคนที่ดื่มกาแฟ 3 แก้วหรือมากกว่าต่อวัน มีแนวโน้มในการลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้
4. ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นอัลไซเมอร์ (Alzheimer) 65%
จากการศึกษากับคนวัยกลางคนในประเทศฟินแลนด์ จำนวน 1,400 พบว่าคนที่ดื่มกาแฟ 5 ถ้วยต่อวัน สามารถลดอัตราเสี่ยงของการเป็นอัลไซเมอร์ได้ถึง 65%
5. ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคตับแข็ง 80%
จากการศึกษากับผู้ดื่มกาแฟจำนวน 125,000 คน พบว่าการดื่มกาแฟ 1 แก้วต่อวัน ทำให้ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับแข็งลดลงถึง 20% ถ้าดื่ม 4 แก้วต่อวันก็จะลดอัตราเสี่ยงได้มากถึง 80%
6. ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นนิ่วในถุงน้ำดี 50%
ผู้ชายที่ดื่มกาแฟอย่างน้อย 2 แก้วต่อวัน มีแนวโน้มในการลดอัตราเสี่ยงของการเป็นนิ่วในถุงน้ำดี 40% และ 25% สำหรับผู้หญิงที่ดื่มกาแฟในปริมาณที่เท่ากัน และ 45% สำหรับคนที่ดื่มมากกว่า 4 แก้วต่อวัน
7. ช่วยลดอาการปวดหัว บ่อยครั้งที่คาเฟอีน (Caffeine) ถูกใช้เป็นยาแก้ปวดหัวโดยเฉพาะอาการปวดหัวจากไมเกรน โดยสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ถึง 40% นอกจากนี้ยาแก้ปวดหลายประเภทยังมีส่วนผสมคาเฟอีน (Caffeine) 65 mg เช่น Aspirin, Ibuprofen, Acetaminophen
สำหรับผู้หญิง
8. ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจในผู้หญิง 25%
งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยของสเปนพบว่า ผู้หญิงที่ดื่มกาแฟ 2-3 แก้วต่อวัน มีอัตราเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจน้อยกว่าคนที่ไม่ได้ดื่มและมากกว่าผู้ชาย 25%
9. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดการอุดตันในเส้นเลือดในผู้หญิง 43%
จากการศึกษากับนางพยาบาล จำนวน 83,000 คนที่ไม่เคยสูบบุหรี่ และดื่มกาแฟ 4 แก้วต่อวัน สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดการอุดตันในเส้นเลือดได้ถึง 43%
สำหรับผู้ชาย
10. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
จากการศึกษากับผู้ชาย จำนวน 50,000 คน เป็นเวลา 20 ปี พบว่าคนที่ดื่มกาแฟ 6 แก้วต่อวันจะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยกว่าคนที่ไม่ได้ดื่มเลย
อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งเกินปริมาณที่เหมาะสมก็ย่อมส่งผลเสียแก่ร่างกายได้ โดยเฉพาะในกาแฟที่มักนิยมดื่มในลักษณะกาแฟเย็น ซึ่งต้องใส่ทั้งนมหรือครีม และน้ำตาล ทำให้มีปริมาณแคลอรี่เพิ่มขึ้นกว่าการดื่มแต่กาแฟเพียงอย่างเดียวมาก
ข้อเสียของการดื่มกาแฟ
การดื่มกาแฟให้ได้ประโยชน์มากกว่าโทษ
- ดื่มกาแฟเพียงวันละ 1-2 ถ้วย
- ดื่มกาแฟดำ ไม่ใส่น้ำตาล
- ใช้สารให้ความหวานแทนการใส่น้ำตาล
- ใช้นมสดจืดแทนครีมเทียม
- ดื่มกาแฟร้อนแทนกาแฟเย็น
- ลดขนาดแก้วให้เล็กลง
- ไม่เพิ่มวิปปิ้งครีม
- งดกาแฟปั่น
เมนูขนมที่น่าสนใจ by Bread at HÖME
เค้กช็อกโกแลตคาราเมลแมคคาเดเมีย CHOCOLATE CARAMEL MACADAMIA ถั่วเน้นๆ หวานน้อย กรุบกรับทุกคำ
เค้กช็อกโกแลตคาราเมลแมคคาเดเมีย ราดหน้าด้วยซอสคาราเมลหอมๆหวานๆ พร้อมกับความมันกรุบกรอบของแมคคาเดเมียเต็มๆเม็ด
เค้กมะพร้าวอ่อน ลาวา หน้านิ่ม หอมมะพร้าว หวานน้อย มาพร้อมครีมสด นุ่ม ละลายในปาก COCOUNT CAKE 1/2 ปอนด์ ฿490 1 ปอนด์ ฿690 2 ปอนด์ ฿890 3 ปอนด์ 1090
เค้กมะพร้าวอ่อนครีมสด หน้านิ่มลาวา หอมมะพร้าว หวานน้อย มาพร้อมครีมสด นุ่ม ละลายในปาก
ทาโกะยากิ T A K O Y A K I สไตล์ญี่ปุ่น ลูกละ 5฿
“ทาโกะ” หมายถึงปลาหมึกยักษ์ ส่วน “ยากิ” หมายถึงทอดย่าง หรือปิ้งนั่นเอง ดังนั้น “ทาโกะยากิ” จึงหมายถึง การนำปลาหมึกยักษ์ไปผ่านการทอด ย่าง หรือปิ้ง อันเป็นลักษณะของอาหารชนิดนี้นั่นเอง
เค้กผลไม้ครีมสด /ครีมนมสด ตกแต่งด้วยผลไม้สด หวานน้อย นุ่มละมุน FRUIT CAKE [ไม่รวมหมีพูห์ ไม่รวมป้ายชื่อ]
เค้กผลไม้ครีมสด เป็นเค้กที่เหมาะกับทุกเพศทุกวัยเลยจ้าาาา เนื้อเค้กนุ่มๆ ครีมสดหอมๆ อัดแน่นไปด้วยผลไม้นานาชนิด บอกเลยว่าฟินมากกกก
เค้กผีเสื้อ 1 ปอนด์ ไอเดียตกแต่งหน้าเค้ก [เค้กวันเกิดผีเสื้อ]บินได้ ราคาน่ารัก BUTTERFLY CAKE ฿590
มันคือเค้กผีเสื้อ เนื้อเค้กเป็นสปันจ์วนิลา ครีมสดสอดไส้ด้วยแยมสตอวเบอรี่โฮมเมดและสตอเบอรี่สด
นมสดสตอเบอรรี่ สไตล์เกาหลี 250 ml. 3 ขวด 100฿
สูตรเครื่องดื่ม ใส่นมสดกับซอสสตอเบอรรี่ สไตล์เกาหลี ทั้งหอม หวาน ละมุน มีเนื้อสตอเบอรรี่เต็มคำ กับ 'นมสดสตอเบอรรี่เกาหลี'
เค้กเชิงเทียน บัตเตอร์ครีม / ครีมนมสด สไตล์ วินเทจ เอาไว้ตกแต่งเค้กเพิ่มความหรูหราให้เค้ก [CANDLE HOLDER CAKE]
เมนูไอเดียสไตล์วินเทจ เค้กเชิงเทียน สวยๆ บัตเตอร์ครีม / ครีมนมสด เอาไว้ตกแต่งเค้กเพิ่มความหรูหราให้เค้ก
เค้กมะม่วงเสาวรส สอดไส้ครีมมะม่วงผสมเสาวรส มะม่วงหวานๆตัดกับไส้เสารสเปรี้ยวๆ ฟินที่สุด MANGO PASSION FRUIT CAKE
เค้กน้อนนใหม่ของร้านฮับ น้อนนเป็นครีมสด ไม่มีไขมันทรานส์ สอดไส้ครีมมะม่วงผสมเสาวรส มะม่วงหวานๆตัดกับไส้เสารสเปรี้ยวๆ ฟินที่สุด