สารบัญ
ประวัติขนมเค้ก
เค้ก ภาษาอังกฤษ “CAKE”
“ขนมเค้ก” (cake) เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่มักจะมีรสหวานและผ่านกระบวนการอบ ซึ่งจะทำมาจากแป้ง น้ำตาล และส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ไข่ ผัก และผลไม้ที่ให้รสหวานหรือเปรี้ยว หรือส่วนประกอบที่มีไขมัน เช่น เนย ชีส ยีสต์ นม เป็นต้น และนิยมรับประทานเป็นของหวาน และฉลองในเทศกาลต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันเกิดและวันแต่งงาน ซึ่งในโลกมีตำรับหรือสูตรการทำเค้กเป็นจำนวนล้านๆ สูตร ขนมเค้กมีหลากหลายชนิด อาทิ ชีสเค้ก ฟรุตเค้ก แพนเค้ก เค้กเนยสด และแยมโรล เป็นต้น
Bread at HÖME
ขนมปัง , โดนัท , ขนมเค้ก , ของทางเล่น , พิซซ่าโฮมเมด
ขนมเค้ก มีรากศัพท์มาจากภาษาของชาวไวกิ้ง (Old Norse word) มาจากคำว่า “kaka” ประวัติเริ่มจากปี ค.ศ. 1843 นักเคมีชาวอังกฤษชื่อ อัลเฟรดเบิร์ด (Alfred Bird 1811-1878) ได้ค้นพบ “ผงฟู” (baking powder) ขึ้น ทำให้เขาสามารถทำขนมปังชนิดที่ไม่มียีสต์ได้เป็นครั้งแรก ทั้งนี้เนื่องมาจากภรรยาของเขา (Elizabeth) เป็นโรคภูมิแพ้อาหารที่มีส่วนผสมของไข่และยีสต์
สำหรับประวัติขนมเค้กในประเทศไทยนั้น ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2480 ขนมเค้กยังไม่เป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไปมากนัก จะมีเพียงคนบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้รับอารยธรรมตะวันตกหรือใกล้ชิดกับชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำธุรกิจ โดยร้านเบเกอรี่ (bakery) ในกรุงเทพฯ มีอยู่ไม่มากนัก ร้านที่เป็นที่รู้จักย่านถนนเจริญกรุงคือร้านมอนโลเฮียงเบเกอรี่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายทำธุรกิจกับต่างประเทศ และการท่องเที่ยวมีการขยายตัวมากขึ้น ทำให้มีความต้องการบริโภค ขนมเค้ก ขนมปัง เพสตรี้ เพื่อบริการแก่ลูกค้าหรือนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมีมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ธุรกิจเบเกอรี่ หรือขนมเค้ก ขนมปัง ขนมคุ๊กกี้ จึงขยายตัวและเป็นที่รู้จัก และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เค้กโฮมเมดของ Bread at HÖME นั้น ใช้ เมล็ดวนิลาแท้ ทุกชิ้น
ก่อนจะมาเป็นขนมเค้ก
ประวัติเริ่มจากปี 1843 คุณอัลเฟรด เบิร์ด (Alfred Bird 1811-1878) นักเคมีชาวอังกฤษได้ค้นพบ “ผงฟู” หรือ “baking powder” ทำให้เขาสามารถทำขนมปังชนิดที่ไม่มียีสต์ให้กับภรรยาของเขา อลิซาเบธ (Elizabeth) ได้เป็นครั้งแรกเนื่องจากภรรยาของเขาเป็นโรคภูมิแพ้เกี่ยวกับ ไข่ และ ยีสต์
ในราวศตวรรษที่ 13 มีการค้นพบหลักฐานการอบขนมเค้กขั้นแอดวานซ์ที่เก่าแก่ที่สุดจากชาวอียิปต์ โบราณโดยมักจะเป็นรสชาติของเค้กผลไม้ และGinger bread รูปแบบเค้กทรงกลมที่เราเห็นกันทุกวันนี้ เริ่มราวกลางศตวรรษที่ 17 ในยุโรป ซึ่งเป็นช่วงที่มีพัฒนาการของเตาอบ แบบพิมพ์ขนมและน้ำตาลทราย รสชาติที่นิยมก็ยังเป็นรสผลไม้
ย้อนหลังจากวันนี้ไปประมาณ 60 ปี ธุรกิจขนมอบในเมืองไทยไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายเหมือนในปัจจุบัน จนไม่อาจเรียกว่าเป็นธุรกิจได้ ขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้ ก็ไม่ได้เป็นที่คุ้นเคยของคนทั่วไป จะมีก็เพียงคนกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับอารยธรรมตะวันตกมาก่อน และผู้ที่มีความใกล้ชิดกับชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำธุรกิจในเมืองไทยที่ รู้จักขนมอบ และมีร้านขนมอบเพียงไม่กี่ร้าน เพราะธุรกิจขนมอบในสมัยนั้นแคบมาก ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
ต่อมาคนไทยโดย เฉพาะคนกรุงเทพฯ เริ่มรู้จักขนมอบมากขึ้นเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ประเทศไทยเริ่มเป็นที่รู้จักของประเทศต่างๆ มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น มีชาวต่างประเทศเข้ามาเมืองไทยทั้งนักธุรกิจและนักท่องเที่ยว ทำให้ธุรกิจโรงแรมขยายตัว จึงต้องผลิตอาหารประเภทขนมอบชนิดต่าง ๆ ขึ้นเช่นขนมปัง เค้ก เพสตรี้เพื่อบริการลูกค้าชาวต่างประเทศที่ไม่คุ้นเคยอาหารไทย และนอกจากจะผลิตเพื่อบริการลูกค้าแล้ว โรงแรมยังมีบริการรับจัดเลี้ยงให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน โดยมีการจัดประชุมสัมมนา งานพิธีมงคลสมรส งานวันเกิด และการจัดเลี้ยงสังสรรค์ ด้วยเหตุนี้ผลิตภัณฑ์ขนมอบจึงเป็นที่รู้จักและแพร่หลายมากขึ้น
ในขณะเดียวกันก็มีร้านเบเกอรี่ที่ผลิตขนมปัง ขนมเค้ก ขนมต่าง ๆ ออกขาย ธุรกิจขนมอบเริ่มจัดว่าเป็นธุรกิจได้เมื่อสมัยสงครามเวียดนาม ประมาณ 30 กว่าปีมาแล้วประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่เป็นที่พักของทหารอเมริกัน ช่วงนั้นกิจการขนมอบเริ่มขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากความต้องการอาหารประเภทนี้สูง จนถึงกับมีผู้คิดโรงโม่แป้งสาลีขึ้นในประเทศไทย และต่อมามีโรงโม่แป้งสาลีเพิ่มขึ้นอีก 23 แห่งแต่ละโรงโม่ก็ผลิตแป้งสาลียี่ห้อต่าง ๆ ออกจำหน่ายพร้อมกับมีการสาธิตการทำผลิตภัณฑ์ จัดการฝึกอบรมแนะนำลูกค้าผู้ใช้แป้งสาลีและผู้ประกอบกิจการขนมอบซึ่งมี ปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้สามารถนำแป้งไปใช้ทำผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีความถูกต้อง นับว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้แป้งสาลีเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อสงคราม เวียดนามสิ้นสุดลง ธุรกิจขนมอบก็ยังดำเนินต่อไป และขยายตัวเพิ่มมากขึ้น คนไทยเริ่มบริโภคขนมปัง ขนมเค้ก คุกกี้ พาย พัฟ ฯลฯ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ขนมอบมากขึ้น นักธุรกิจหลายรายเริ่มมองเห็นลู่ทางในการลงทุนทำธุรกิจนี้ เนื่องจากเห็นว่าผลิตภัณฑ์ขนมอบเข้ามามีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนไทย มากขึ้น
นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานต่าง ๆ เช่น วิทยาลัยสารพัดช่าง วิทยาลัยการอาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงเรียนของเอกชน ที่เปิดสอนด้านขนมอบ ได้ช่วยกันเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขนมอบมากขึ้น พร้อมกับมีตำราการฝึกปฏิบัติทำขนมอบ มีประชาชนให้ความสนใจมาฝึกอบรมรับความรู้ เพื่อไปประกอบเป็นอาชีพ หรือทำบริโภคเองภายในครอบครัว
ที่มาของขนมเค้กในวันเกิด
จากการสำรวจข้อมูลทางประวัติศาสตร์แล้วพบว่า ทฤษฎีเกี่ยวกับต้นกำเนิดของธรรมเนียมการใช้เค้กเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการฉลอง วันเกิดนั้นมีด้วยกันหลากหลายทฤษฎี บางคนเชื่อว่ามีมาตั้งแต่สมัยโบราณ
ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์อาหารเชื่อว่า เค้กวันเกิดมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลแล้ว เนื่องจากคนสมัยก่อนชอบทำขนมอบจำพวกขนมเค้กและขนมปังเพื่อใช้บูชาในงาน พิธีกรรมทางศาสนา งานแต่งงาน งานศพ รวมถึงงานวันเกิดด้วยในขณะที่บางคนเชื่อว่าเริ่มขึ้นในยุคกลาง (middle Ages)
ในสมัยกรีกมีร่องรอยทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับตำนานเค้กวันเกิดระบุเอาไว้ว่าเป็นขนมหวานสำหรับบูชาเทพีจันทรา โดยชาวเมืองกรีกนิยมทำเค้กน้ำผึ้งหรือขนมปังหวานรูปวงกลมเพื่อนำไปบูชาเทพจันทราที่วิหารอาร์เทอมิส
ขณะที่นักทฤษฎีบางสำนักเชื่อว่า จุดเริ่มต้นของเค้กวันเกิดมีขึ้นครั้งแรกในประเทศเยอรมนีช่วงยุคกลาง ซึ่งเป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองของศาสนาคริสต์ โดยชาวคริสต์จะทำขนมปังหวานเป็นรูปพระเยซูทรงอยู่ในผ้าห่อตัวในประสูติ เพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ที่ระลึกในวันคล้ายวันประสูติของพระองค์
ในเวลาต่อมา ชาวเมืองเบียร์ก็เลยได้ไอเดียใหม่ๆ ทำเค้กเพื่อฉลองวันเกิดให้แก่เด็กๆและจากนั้นมา ธรรมเนียมเช่นนี้ก็ถูกปฏิบัติสืบทอดต่อๆ กันมา จวบจนกระทั่งถึงทุกวันนี้..ทั้งนี้ ไม่ว่าเค้กวันเกิดจะเกิดขึ้นจากทฤษฎีใดก็ตาม จะสังเกตได้ว่าจุดเริ่มต้นก็ล้วนมาจากทางฝั่งยุโรปทั้งสิ้น ดังนั้น จึงอาจจะสรุปได้ว่าธรรมเนียมการเป่าเค้กวันเกิดเริ่มต้นจากฝั่งตะวันตก..
ความเป็นมาของเค้กแต่งงาน
ในสมัยโบราณ เจ้าสาวจะไม่มีโอกาสได้ลิ้มรสขนมเค้กแต่งงานเลย เนื่องจากเค้กแต่งงานในยุคเริ่มแรกนั้น ทำขึ้นเพื่อ “ปา” ใส่เจ้าสาว เค้กแต่งงานมีพัฒนาการในฐานะที่เป็นหนึ่งในบรรดาสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ที่จะขาดเสียมิได้ในพิธีแต่งงาน ในยุคที่ผ่าน ๆ มา ผู้คนจะคาดหวังว่า บุตรสืบสกุลจะติดตามมาทันทีภายหลังการแต่งงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่แน่นอนพอ ๆ กับมีกลางวันแล้วต้องมีกลางคืน
Cake แต่งงาน
ข้าวสาลีซึ่งถือกันมานานแล้วว่า เป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์และความเจริญรุ่งเรือง เป็นเมล็ดธัญพืชที่ใช้โปรยใส่เจ้าสาวตามพิธีการ หญิงสาวที่ยังไม่มีคู่ครองจะแย่งกันเก็บเมล็ดข้าวสาลีเพื่อเป็นเครื่องประกันว่า พวกเธอก็จะได้แต่งงานในไม่ช้า การแย่งเมล็ดข้าวสาลีนี้มีคตินิยมเช่นเดียวกับการแย่งช่อดอกไม้ของเจ้าสาวในยุคปัจจุบัน
ช่างทำขนมชาวโรมันซึ่งมีฝีมือการอบขนมเป็นที่ยกย่องเลื่องลือ เป็นผู้เปลี่ยนแปลงประเพณีปฏิบัติดังกล่าว โดยเมื่อราว 100 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกช่างทำขนมได้ริเริ่มอบขนมเค้กชิ้นเล็กๆ มีรสหวาน ทำจากข้าวสาลีเพื่อใช้รับประทานในงานแต่งงานแทนที่จะใช้ “ปา” อย่างไรก็ดี แขกที่มาร่วมงานไม่ค่อยชอบใจนักที่อดสนุกกับการโปรยเมล็ดข้าวสาลีใส่เจ้าสาว จึงมักจะโยนเค้กชิ้นเล็ก ๆ นี้แทน
กวีและปราชญ์ชาวโรมันชื่อ ลูครีเชียส บันทึกไว้ว่าพัฒนาการของการโยนขนมเค้กใส่เจ้าสาวลดความ “รุนแรง” ลงโดยเปลี่ยนเป็นการละเลงขนมลงบนศีรษะของเจ้าสาว และเพื่อสืบทอดความหมายในเชิงสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์คู่บ่าวสาวต้องรับประทานส่วนของขนมที่ถูกละเลงแล้วร่วมกันด้วย
ประเพณีปฏิบัตินี้แพร่หลายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในประเทศอังกฤษเมื่อคู่บ่าวสาวรับประทานขนมแล้ว ต้องจิบเหล้าชนิดพิเศษซึ่งเรียกกันว่า “เหล้าเจ้าสาว” ตามด้วยพิธีโยนเค้กแต่งงานเพื่อเป็นเครื่องหมายให้คู่บ่าวสาว “มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง” นั้นเปลี่ยนแปลงไปอีกในสมัยกลางตอนต้น เมื่อเกิดภาวะข้าวยากหมากแพง เมล็ดข้าวสาลีดิบถูกนำกลับมาใช้โปรยใส่เจ้าสาวอีกครั้งหนึ่ง ขนมเค้กซึ่งเคยอบอย่างพิธีพิถันก็เปลี่ยนเป็นเพียงขนมปังกรอบ หรือขนมปังก้อนเล็ก ๆ ชนิดนุ่มรสหวานที่เรียกว่า “สคอน” (scone) เพื่อรับประทานร่วมกันในงานแต่งงาน แขกที่มาร่วมงานก็จะอบขนมกันมาเอง ส่วนที่เหลือจะนำไปแจกจ่ายให้คนยากจน ประเพณีปฏิบัติที่ประหยัดเรียบง่ายนี้เอง เมื่อเวลาผ่านไป ด้วยความช่างประดิษฐ์ประกอบกับการดูแคลนทุกสิ่งที่เป็นอังกฤษของชาวฝรั่งเศส กลับเป็นที่มาของเค้กแต่งงานเป็นชั้น ๆ ซึ่งหรูที่สุด
ตำนานเล่าว่า ทั่วทุกแห่งในเกาะอังกฤษจะถือเป็นธรรมเนียมที่จะนำขนมปังกรอบ และสคอน ซึ่งแขกนำมาช่วยงานวางซ้อน ๆ กันเป็นกองใหญ่มหึมายิ่งกองสูงเท่าใดยิ่งดี เพราะถือกันว่าความสูงของกองขนมชี้ถึงความเจริญรุ่งเรืองของคู่สมรสในอนาคต และเป็นธรรมเนียมอีกว่า เจ้าบ่าวเจ้าสาวต้องแลกจุมพิตกันบนกองขนม
ในช่วงค.ศ. 1660-1669 ระหว่างสมัยของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 พ่อครัวชาวฝรั่งเศสคนหนึ่ง ได้ไปเที่ยวกรุงลอนดอนและเห็นพิธีการ “กองเค้ก” พ่อครัวคนนี้รู้สึกใจหายใจคว่ำกับลักษณะที่คนอังกฤษเรียงขนมเค้กซ้อน ๆ กันและบ่อยครั้งที่กองขนมพังครืนลงมา เขาจึงได้ความคิดที่จะทำขนมเค้กก้อนใหญ่เป็นชั้น ๆ เคลือบด้วยน้ำตาลไอซิง ซึ่งให้ความรู้สึกตื่นตาตื่นใจเหมาะกับพิธีแต่งงาน มากกว่ากองภูเขาขนมปังกรอบที่แสนจะธรรมดา หนังสือพิมพ์อังกฤษในสมัยนั้นพากันประสานเสียงวิพากษ์วิจารณ์ความฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่ายของชาวฝรั่งเศส
แต่ปรากฏว่าก่อนจะสิ้นสุดศตวรรษที่ 17 ช่างทำขนมชาวอังกฤษก็พร้อมใจกันทำขนมเค้กแต่งงานก้อนมหึมาเป็นชั้น ๆ บริการให้แก่บรรดาลูกค้าของพวกเขา เค้กแต่งงานโดยส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่ มีรูปร่างเป็นชั้นๆเรียงกันขึ้นไป และมีการตกแต่งอย่างสวยสดงดงามด้วยครีมและน้ำตาลแต่งหน้าเค้ก ซึ่งในบางครั้งอาจมีการนำอัลมอนด์มาเป็นส่วนผสมในการทำ โดยส่วนยอดของขนมเค้กนั้นมักประดับด้วยตุ๊กตาแทนตัวบ่าวสาว หรือในบางความคิดอาจใช้เป็นรูปนก รูปแหวนทอง หรือรูปเกือกม้า ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี และความเจริญรุ่งเรืองสำหรับคู่บ่าวสาว ซึ่งลักษณะของเค้กแต่งงานที่ดีจะต้องมีเนื้อแน่นสามารถรับน้ำหนักของชั้นเค้กที่ตกแต่งอย่างสวยงามได้และที่สำคัญยังต้องรับประทานได้และอร่อยอีกด้วย สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยทักษะ ฝีมือความคิดสร้างสรรค์และความปราณีตเป็นอย่างมากจากพ่อครัว หรือผู้ทำขนม
ส่วนประเพณีการตัดเค้กนั้น โดยส่วนใหญ่เจ้าสาวจะต้องเป็นคนตัดเค้กเอง โดยที่เจ้าบ่าวมีหน้าที่แค่คอยช่วยเหลือ ซึ่งในประเพณีโบราณ ฝ่ายเจ้าสาวจะต้องตัดเค้กแล้วนำขนมเค้กที่ตัดแล้วไปมอบให้แก่บุคคลต่างๆ ในครอบครัวของเจ้าบ่าวเพื่อแสดงความเคารพ และแสดงให้เห็นว่าเธอกำลังจะก้าวเข้าไปเป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัวเจ้าบ่าวนับจากนี้เป็นต้นไป อีกทั้งยังมีประเพณีที่ให้คู่บ่าวสาวป้อนเค้กให้กันและกัน คือการสื่อความหมายถึงการเริ่มต้นชีวิตครอบครัวซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องสร้างครอบครัวใหม่ด้วยกัน และเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่จะต้องดูแลกันและกันตลอดไป หลังตัดเค้กเป็นชิ้นๆแล้วฝ่ายบ่าวสาวก็จะแบ่งเค้กเหล่านั้นให้กับผู้ที่มาร่วมพิธีได้รับประทานกันซึ่งอาจจะรับประทานเลยหรือนำกลับบ้านไปฝากบุคคลที่ไม่ได้มาร่วมงานก็อาจเป็นได้ ซึ่งในประเพณีโบราณเชื่อว่า หากเพื่อนเจ้าสาวคนไหนอยากฝันเห็นเนื้อคู่ของคนในอนาคต ให้นำเค้กแต่งงานไปไว้ใต้หมอนหรือข้างหมอนแล้วนอนหลับ สาวคนนั้นจะฝันเห็นคู่ชีวิตของตน
หลังจากวันแต่งงานของคู่บ่าวสาวในยุโรปนิยมเก็บเค้กชั้นบนสุดไว้แล้วนำออกมารับประทานใหม่ในวันครบรอบแต่งงานหนึ่งปีและการฉลองอีกครั้งก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องการให้กำเนิดเจ้าตัวน้อย เพราะเหตุนี้เค้กบางส่วนในพิธีแต่งงานอาจจะถูกเก็บไว้กินเพื่อฉลองในวันครบรอบแต่งงานของบ่าวสาวในปีถัดๆ ไปใช้ฉลองในวันที่คลอดลูกคนแรกแต่โดยส่วนใหญ่จะใช้ในพิธีตั้งชื่อบุตรตามหลักศริสต์ศาสนา ซึ่งจะเก็บรักษาเค้กด้วยการนำเข้าช่องแช่แข็งเอาไว้ ส่วนใหญ่จะเก็บชั้นบนสุดของเค้กที่มักจะตกแต่งด้วยผลไม้ซึ่งสามารถเก็บรักษาเอาไว้ได้เป็นระยะเวลานานด้วยการแช่แข็ง (ในสมัยก่อนวิธีการรักษาเค้กให้เก็บไว้ได้เป็นระยะเวลานานๆ ก็คือการใช้น้ำตาลในปริมาณมากๆ เป็นส่วนผสมในการทำและแต่งหน้าเค้ก เพื่อเพิ่มความหนาแน่นและลดช่องว่างไม่ให้อากาศเข้าไปใน เนื้อเค้ก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เค้กหมดอายุหรือเสียเร็วขึ้น)
ความหมายของเค้กสีขาว
White Cake เค้กมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับเจ้าสาว เนื่องจากโดยส่วนใหญ่สีของเค้กจะเหมือนหรือเข้ากับสีชุดของเจ้าสาวด้วย หากย้อนไปดูในสมัยวิคตอเรีย เค้กที่ใช้ในพิธีแต่งงานก็เป็นสีขาวแต่ไม่ใช่เป็นเพราะความเชื่อ แต่เพราะการทำขนมเค้กเป็นสีต่างๆ ในสมัยก่อนนั้นทำได้ยากเนื่องจากส่วนผสมทุกอย่างเป็นสีขาวหมด แต่ถึงกระนั้นในความเชื่อของคนส่วนใหญ่ ขนมเค้กแต่งงานต้องเป็นสีขาว เนื่องจากสีขาวสื่อถึงความรักที่บริสุทธิ์ และความเชื่อที่ว่าเค้กสีขาวเป็นสัญลักษณ์ของความรักที่มั่นคงก็ยังคงเชื่อถือกันอยู่จนถึงปัจจุบัน
โดยสรุปแล้ว “เค้กแต่งงาน” เป็นขนมหวานที่นิยมใช้เลี้ยงแขกเป็นสิ่งแรกหลังจากเสร็จสิ้นพิธีแต่งงานของคู่บ่าวสาว เป็นตัวแทนแห่ง ความรักและความสุขอีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นชีวิตครอบครัวใหม่ของคู่บ่าวสาว ที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันให้ตลอดรอดฝั่ง
ความเป็นมาของเค้ก
“ขนมเค้ก” (cake) เป็นอาหารชนิดหนึ่งที่มักจะมีรสหวาน และผ่านกระบวนการอบ ซึ่งจะทำมาจากแป้ง น้ำตาล
และส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ไข่ ผัก และผลไม้ที่ให้รสหวานหรือเปรี้ยว หรือส่วนประกอบที่มีไขมัน เช่น เนย ชีส ยีสต์
นม เป็นต้น
และนิยมรับประทานเป็นของหวาน และฉลองในเทศกาลต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันเกิดและวันแต่งงาน
ซึ่งในโลกมีตำรับหรือสูตรการทำเค้กเป็นจำนวนล้านๆ สูตร ขนมเค้กมีหลากหลายชนิด อาทิ ชีสเค้ก ฟรุตเค้ก
แพนเค้ก เค้กเนยสด และแยมโรล เป็นต้น
Cake มีรากศัพท์มาจากภาษาของชาวไวกิ้ง (Old Norse word) ว่า “kaka”
ประวัติเริ่มจากปี 1843 คุณอัลเฟรด เบิร์ด (Alfred Bird 1811-1878)นักเคมีชาว อังกฤษได้ค้นพบ “ผงฟู”
หรือ “baking powder” ทำให้เขาสามารถทำขนมปังชนิดที่ไม่มียีสต์ให้กับภรรยาของเขา อลิซาเบธ (Elizabeth) ได้
เป็นครั้งแรกเนื่องจากภรรยาของเขาเป็นโรคภูมิแพ้เกี่ยวกับ ไข่ และ ยีสต์
ในราวศตวรรษที่ 13
มีการค้นพบหลักฐานการอบขนมเค้กขั้นแอดวานซ์ที่เก่าแก่ที่สุดจากชาวอียิปต์โบราณโดยมักจะเป็นรสชาติของ
เค้กผลไม้ และGinger bread รูปแบบเค้กทรงกลมที่เราเห็นกันทุกวันนี้ เริ่มราวกลางศตวรรษที่ 17 ในยุโรป
ซึ่งเป็นช่วงที่มีพัฒนาการของเตาอบ แบบพิมพ์ขนมและน้ำตาลทราย รสชาติที่นิยมก็ยังเป็นรสผลไม้
ความหมายของเค้ก
สำหรับประวัติขนมเค้กในประเทศไทยนั้น ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2480 ขนมเค้กยังไม่เป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไป
มากนัก จะมีเพียงคนบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้รับอารยธรรมตะวันตกหรือใกล้ชิดกับชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำธุรกิจ
โดยร้านเบเกอรี่ (bakery) ในกรุงเทพฯ มีอยู่ไม่มากนัก ร้านที่เป็นที่รู้จักย่านถนนเจริญกรุงคือร้านมอนโลเฮียงเบเกอรี่
ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายทำธุรกิจกับ
ต่างประเทศ
และการท่องเที่ยวมีการขยายตัวมากขึ้น ทำให้มีความต้องการบริโภค ขนมเค้ก ขนมปัง เพสตรี้ เพื่อบริการแก่ลูกค้า
หรือนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมีมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ธุรกิจเบเกอรี่ หรือขนมเค้ก ขนมปัง ขนมคุ๊กกี้
จึงขยายตัวและเป็นที่รู้จัก และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เมนูแนะนำ : เชดด้าชีสเค้ก
ชนิดของเค้ก
ประเภทของเค้ก เค้กสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
เค้กมีกี่ชนิด
1. เค้กเนย (butter cake)
เค้กกลุ่มนี้มีไขมันเป็นเครื่องปรุงที่สำคัญ ไขมันนั้นอาจใช้เนย
เนยเทียม เนยขาว อย่างใดอย่างหนึ่งหรือใช้ปนกันก็ได้ และอาจจะอบให้สุกเป็นแผ่น
เป็นชิ้นใหญ่ หรือเป็นถ้วยก็ได้
เมนูแนะนำ : เชดด้าชีสเค้ก สไตล์มินิ
2. เค้กไข่ (unshortened cake)
เค้กกลุ่มนี้ใช้ไข่เป็นเครื่องปรุงหลัก จึงใช้ไข่ในปริมาณมาก และไม่ใช้ไขมันในส่วนผสม แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ
เมนูแนะนำ : เค้กส้มหน้านิ่ม
2.1 สปันจ์เค้ก (spong cake) เป็นเค้กที่ใช้ไข่เป็นส่วนผสมหลัก คุณภาพของไข่จะมีผล
อย่างมากต่อการทำสปันจ์เค้ก เพราะเค้กชนิดนี้ขึ้นฟูด้วยไข่ ไข่ที่สดและใหม่
เมื่อนำมาตีจะมีความคงตัวกว่าไข่ที่มีลักษณะเหลวไข่ไก่ในอุณหภูมิห้องจะตีได้ปริมาณ
ที่มากกว่าไข่ที่เย็น มีวิธีทำโดยนำส่วนผสมทุกอย่างยกเว้นเนยละลายตีรวมกันโดยเพิ่ม
สารเสริมคุณภาพ ตีจนส่วนผสมขึ้นฟูจึงใส่เนยละลาย
เมนูแนะนำ : เค้กช็อกโกแลตลาวา สไตล์มินิ
2.2 เมอแรงก์เค้ก (merinque cake) เค้กกลุ่มนี้ใช้เฉพาะไข่ขาวเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
เช่น แองเจิลเค้ก
เมนูแนะนำ : เค้กส้มลาวา สไตล์มินิ
3. คอมบิเนชั่นไทป์เค้ก (combination type cake)
เป็นเค้กที่คล้ายกับเค้กไข่ แต่มีส่วนผสมของไขมัน
ที่ใช้ในรูปของน้ำมัน มีวิธีการทำก่ำกึ่งกันระหว่างเค้กเนยและเค้กไข่ เรียกว่าชิฟฟอนเค้ก
(chiffon cake) ซึ่งมีโครงสร้างที่ละเอียดเหมือน เค้กไข่ และมี เนื้อเค้ก ที่เงามันเหมือนเค้กเนย
เมนูแนะนำ : สตรอเบอร์รีช็อตเค้กญี่ปุ่น
ทำไมการสั่งเค้กโฮมเมดถึงดีกว่า?
เค้กโฮมเมดสามารถสร้างความทรงจำที่ดีและเป็นสิ่งที่บ่งบอกให้ใครบางคนรู้ว่าคุณใส่ใจพวกเขามากแค่ไหน เค้กโฮมเมดยังคงเป็นทางเลือกที่ดีแม้ว่าจะมีตัวเลือกมากมายในตลาดให้เลือก ซึ่งปัจจุบันเค้กโฮมเมดก็สามารถทำให้น่ารับประทานได้ไม่ยาก นี่คือเหตุผลว่าทำไมการเลือกซื้อเค้กโฮมเมดถึงดีกว่า
เค้กโฮมเมดอร่อยกว่า
เค้กหรือขนมโฮมเมดมักจะดีกว่าของที่ทำไว้แล้วเสมอ เค้กโฮมเมดให้อิสระกับคุณในการเลือกได้ว่าต้องการใช้ส่วนผสมอะไรและต้องการให้รสชาติออกมาเป็นแบบไหน ซึ่งแต่ละคนก็มีความชอบแตกต่างกัน
มีตัวเลือกมากกว่า 100 แบบสำหรับรูปแบบและขนาดเค้ก คุณเพียงแค่ต้องเลือกสิ่งที่คุณต้องการ ซึ่งนี่คือจุดแข็งเมื่อเทียบกับการไปเลือกซื้อตามห้างหรือร้านค้าที่มีรูปแบบของเค้กให้เลือกน้อย
เค้กโฮมเมดราคาถูกกว่า
เมื่อต้องเปรียบเทียบระหว่างเค้กโฮมเมดกับเค้กที่ซื้อจากร้านค้า อีกปัจจัยที่ต้องพิจารณาคือเรื่องราคา การซื้อในร้านค้าอาจมีราคาค่อนข้างแพงโดยเฉพาะเมื่อคุณต้องการสินค้าที่ปรับแต่งสำหรับโอกาสพิเศษ แต่เค้กโฮมเมดสามารถลดค่าใช้จ่ายได้มาก และเมื่อพูดถึงการตกแต่งเค้ก สิ่งที่จำกัดก็มีเพียงแค่จินตนาการของคุณเท่านั้น
สะอาดและดีต่อสุขภาพมากกว่า
เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเค้กสำเร็จรูปจากร้านเบเกอรี่หรือขายในห้างนั้นมีคุณค่าทางโภชนาการอะไรบ้าง แต่เมื่อคุณสั่งเค้กโฮมเมดคุณสามารถเลือกคุณภาพและปริมาณของส่วนผสมได้ ซึ่งคุณสามารถเลือกส่วนผสมจากธรรมชาติทั้งหมดได้แทนการซื้อเค้กแบบแปรรูป
นอกจากนี้อีกปัญหาหนึ่งของการซื้อเค้กวันเกิดจากร้านเบเกอรี่หรือร้านค้าก็ยากที่จะรู้ถึงเรื่องความสะอาดในการทำ เมื่อคุณสั่งเค้กโฮมเมดคุณสามารถตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างที่ใช้ทำเค้กของคุณสะอาดสดใหม่และไม่มีสารเคมีหรือสารปรุงแต่งที่ไม่ต้องการเจือปนลงในไปเค้กของคุณ
เค้กที่ไม่เหมือนใคร
บางครั้งคุณอาจจะรู้สึกเบื่อกับเค้กไม่ว่าจะเป็นช็อคโกแลตหรือวานิลลาซ้ำๆ ที่วางขายในตลาด ซึ่งถ้าหากคุณสั่งเค้กโฮมเมด คุณจะได้เค้กฟิวชั่นหรือเค้กแปลก ๆ ที่มีรสชาติและการออกแบบที่ไม่ซ้ำใคร โดยจะเป็นเรื่องยากมากที่คุณจะหาซื้อได้ในร้านทั่วไป
สรุป ของหวานอย่างขนมเค้กโฮมเมด เรามาทำความรู้จักเค้ากันเถอะ
เค้กโฮมเมด ตอบโจทย์คนรักสุขภาพ สร้างอาชีพสร้างรายได้เสริม เบเกอรี่ยังคงเป็นอะไรที่สามารถทำเงินได้อย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่ายังคงอยู่ในความฝันของใครหลายๆ คนที่กำลังอยากเป็นมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เนื่องจากเบเกอรี่เป็นเมนูอาหารที่ได้รับความนิยมสูง อีกนัยหนึ่งยังเป็นงานศิลปะที่หลายคนชื่นชอบอีกด้วย และหลายท่านน่าจะคุ้นหูกับคำว่า “เค้กโฮมเมด” เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสินค้าที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก
เมนูขนมที่น่าสนใจ by Bread at HÖME
พิซซ่าสไตล์นาโปลี ต้นตำรับ 100% พิซซ่าเตาฟืน ถาดละ 259฿ [ขนาด 8 นิ้ว]
ความพิเศษของพิซซ่าที่นี่ อยู่ตรงสูตรแป้งและส่วนผสมที่ลงตัว บวกกับความกรอบบางของพิซซ่าซึ่งอยู่ตรงกลางแผ่น ส่วนขอบพิซซาถูกอบจนหนานุ่มละมุนลิ้น เบื้องหลังความอร่อยคือการอบด้วยเตาอบแบบต้นตำรับซึ่งใช้ที่เมืองนาโปลี ประเทศอิตาลี
เค้ก 2 ชั้น บัตเตอร์ครีมเนยสด มินิมอล สวย ๆ หรู ๆ กี่ปอนด์ สั่งได้
เค้ก 2 ชั้น บัตเตอร์ครีมเนยสด มินิมอล สวย ๆ หรู ๆ กี่ปอนด์ สั่งได้
เค้กมะยงชิดหน้านิ่ม หน้าแน่น ราดซอสมะยงชิด หวานเปรี้ยว ต้อนรับซัมเมอร์ [MARIAN PLUM CAKE] ผลไม้ตามฤดูกาล
เมนูใหม่รับซัมเมอร์ เค้กมะยงชิดหน้านิ่ม MARIAN PLUM CAKE หวานเปรี้ยว ซอสมะยงชิดแบบจัดเต็ม ละมุนลิ้น ซอสฉ่ำ ๆ หวานและอมเปรี้ยวกำลังดี
เค้กชาเขียวมัทฉะมินิ สไตล์เกาหลี CAKE MATCHA GREEN TEA MINI
เค้กชาเขียวมัทฉะแท้จากญี่ปุ่น หอมกลิ่นมัทฉะอย่างดีจากเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น สลับชั้นด้วยครีมมัทฉะที่หอมนมมากๆ
เค้กมงกุฎมินิมอล สวยๆ บัตเตอร์ครีม / ครีมนมสด เจ้าหญิงแสนสวย ลวดลายหรูหรา [CROWN CAKE]
เค้กมงกุฎมินิมอล สวยๆ บัตเตอร์ครีม / ครีมนมสด เจ้าหญิงแสนสวย ลวดลายหรูหรา
เค้กส้มลาวา สไตล์มินิ ORANGE LAVA CAKE 65฿
เนื้อเค้กเป็นสปันจ์เนย (เนื้อเค้กมีส่วนผสมของเมล็ดวนิลาแท้) แป้งญี่ปุ่น ไร้สารเสริม ไม่มีไขมันทรานส์ตกแต่งด้วยผลไม้ตามฤดูกาล
เค้กนางเงือกแอเรียลน้อย แสนสวย MERMAID CAKE ใครที่ชอบเมอร์เมดบอกเลยว่าต้องเลิฟแน่นอน
เค้กนางเงือกน้อย แอเรียล แสนสวย MERMAID CAKE ใครที่ชอบเมอร์เมดบอกเลยว่าต้องเลิฟแน่นอน
เค้กน้ำตาลปั้น ตุ๊กตาน้ำตาลฟองดอง 3 มิติ ปั้นตามแบบที่ต้องการ FONDANT CAKE
เค้กยูนิคอร์น บัตเตอร์ครีมหรือครีมสด หอมนุ่ม ละลายในปาก สามารถเลือกเค้กโมเดลยูนิคอร์น น่ารักๆ ได้